วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Exercise II


กิจกรรมที่ 2

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
จากที่ได้ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕o มานั้น แต่ละประเด็นล้วนเป็นประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็น ซึ่งส่งผลประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ บ้านเมือง และประชาชนได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุดมีดังต่อไปนี้
1. การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรม โดยการเพิ่ม "หมวดคุณธรรม จริยธรรม" ขึ้น ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า หากมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติในหมวดคุณธรรม จริยธรรม จะถือว่าเป็นความผิด ซึ่งหากเป็นข้าราชการก็จะเป็นความผิดทางวินัย หากเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในกรณีที่ร้ายแรงก็สามารถถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ การกำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนทางการเมือง โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ต้องไม่เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นของบริษัท ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งครอบคลุมถึงคู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย
2. การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวัน แต่ไม่เกินหกสิบวัน นับตั้งแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
3. การแทรกแซงและการจำกัดสิทธิของเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่งสถานะของครอบครัวหรือประโยชน์สูงสุดของบุคคลนั้น
4. การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรมการเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

ประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวไทย และประเด็นของสิทธิและเสรีภาพเกี่ยวกับการศึกษา เช่น
1. รัฐสภา เช่น รัฐสภาประกอบด้วยอะไรบ้าง
2. สภาผู้แทนราษฏร เช่น สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไร บุคคลใดบ้างที่ห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นอย่างไร เป็นต้น
3. สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา เช่น บุคคลย่อมมีสิทธิในการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปีตามที่รัฐจัดให้โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
4. วุฒิสภา เช่น วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่คน คุณสมบัติใดบ้างที่สามารถมีสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
5. สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ เช่น บุคคลที่มีอายุเกินกี่ปีที่ไม่มีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ ที่มีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย

เราในฐานะที่เป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่งจำเป็นควรต้องรู้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไว้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถือเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้จัดระเบียบการปกครองของประเทศ เพื่อใช้เป็นเครื่องกำหนดรูปแบบในการปกครองประเทศ และประชาชนควรรู้เรื่องกฎหมายเพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเองและคนใกล้ตัว คือ เมื่อเกิดปัญหา ตนสามารถได้รับความยุติธรรม และทำให้ได้ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม หากเราไม่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายเลย เราอาจจะถูกเอาเปรียบ หรือถูกข่อเหงด้วยอำนาจที่มิชอบได้ ทำให้สังคมเกิดความวุ่นวาย ซึ่งในรัฐธรรมนูญได้กำหนดข้อกฎหมายที่เป็นบรรทัดฐานเดียวกันเพื่อให้คนในสังคมนำไปปฏิบัติได้ เพื่อความสงบสุขเรียบร้อยให้เกิดในสังคม นอกจากนี้รัฐธรรมนูญก็ยังเป็นเครื่องมือในการกำกับแนวทางปฏิบัติของรัฐ ผู้ปกครอง และประชาชนให้เป็นไปตามอุดมการณ์ทางการเมือง
           

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข

คิดว่าการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยสาเหตุหนึ่งนั้นมาจากบริบททางสังคมในแต่ละสมัย รัฐบาลที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารการเมืองจึงมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงรัฐธรรมนูญให้มีความชัดเจน และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อความเป็นระบบระเบียบในการบริหารในยุคสังคมนั้นๆ ให้มีความสงบสุข

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว

ในปัจจุบันมีปัญหาทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และมีการประสบปัญหาในเรื่องของการคอร์รัปชั่น โกงกินบ้านเมือง ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าพวกเขากำลังทำอะไรกันอยู่ ทั้งๆที่ ประชาชนได้เลือกพวกเขาให้มาพัฒนาบ้านเมือง แต่ทางกลับกันดันมาโกงกินเงินของประชาชน เพื่อความสะดวกสบายโดยส่วนตัว โดยไม่สนใจชีวิตของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งอยากให้ปรับปรุงบ้านเมืองให้ดีขึ้นกว่านี้ ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวควรที่จะทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความยุติธรรม อยู่อย่างพอเพียง จงรักภัคดีต่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักแผ่นดินไทยอันเป็นบ้านหลังใหญ่ของตัวเอง คิดว่าถ้าทำอย่างนี้ได้ การคอร์รัปชั่นก็คงไม่เกิดขึ้นในประเทศอย่างแน่นอน ประเทศก็จะมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวทันโลกมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Exercise I


กิจกรรมที่ 1

1. พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญก่อนประกาศใช้บังคับ
พระราชบัญญัติ (ออนไลน์) สืบค้นจาก 
[10 พฤศจิกายน 2555].

2. หน้าที่ หมายถึง ภาระหรือความรับผิดชอบที่บุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
หน้าที่  (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://webboard.gg.in.th/topic/44/111116 [10 พฤศจิกายน2555]. 

3. การศึกษาภาคบังคับ เป็นการศึกษาที่มีกฎหมายบังคับให้ทุกคนเรียนอยู่ในโรงเรียนจนกว่าจะพ้นเกณฑ์  ซึ่งกำหนดตามอายุ หรือระดับการศึกษาที่ได้แสดงไว้ในแผนการศึกษาแห่งชาติ
การจัดการศึกษาลักษณะต่างๆ (ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?q=%A1%D2%C3%A8%D1%B4%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2%C5%D1%A1%C9%B3%D0%B5%E8%D2%A7+%E6&select=1 [10 พฤศจิกายน 2555].

4.  การศึกษาพิเศษ เป็นการศึกษาที่จัดให้แก่บุคคลที่มีลักษณะพิเศษ หรือมีความบกพร่องทางร่างกาย เช่น บกพร่องทางการเห็น การพูด การได้ยิน มีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือมีความผิดปกติทางจิตใจ การจัดการศึกษาลักษณะต่างๆ (ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?q=%A1%D2%C3%A8%D1%B4%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2%C5%D1%A1%C9%B3%D0%B5%E8%D2%A7+%E6&select=1 [10 พฤศจิกายน 2555].

5. สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่มีกฎหมายให้ความคุ้มครอง โดยบุคคลอื่นจะต้องให้ความเคารพ จะละเมิดล่วงเกินหรือกระทำการใดๆ อันก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อสิทธิของบุคคลไม่ได้
สิทธิ (ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://webboard.gg.in.th/topic/44/111116 [10 พฤศจิกายน2555].

6. ระบบการศึกษา หมายถึง โครงสร้างของการศึกษาที่มีองค์ประกอบ เช่น ระดับชั้น และขั้นตอน
ของการศึกษา ประเภทของการศึกษา และกระบวนการเรียนการสอน
ระบบการศึกษา (ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/hp-vichai/ex-prb05-3.htm  [10 พฤศจิกายน 2555].

7. คุณภาพการศึกษา   หมายถึง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตาม ปณิธานและภารกิจของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามนโยบายการพัฒนาการอุดม ศึกษาของประเทศ ตลอดจนปณิธานและภารกิจเฉพาะในการจัดการศึกษาของแต่ละสถาบันการจัดการความรู้ สำนักบรรณสารและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (2554). คุณภาพการศึกษา (ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://library.vu.ac.th/km/?p=554 [10 พฤศจิกายน 2555].

8. มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นใน สถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษาการจัดการความรู้ สำนักบรรณสารและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (2554). มาตรฐานการศึกษา (ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://library.vu.ac.th/km/?p=554 [10 พฤศจิกายน2555].

9. การรับรองมาตรฐาน หมายถึง การให้การรับรองการทำการประเมินคุณภาพภายนอกของผู้ประเมินภายนอกที่มี คุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ตามหลักเกณฑ์ และมาตรฐานที่สำนักงานกำหนดการจัดการความรู้ สำนักบรรณสารและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (2554).  การรับรองมาตรฐานการศึกษา (ออนไลน์)  สืบค้นจาก http://library.vu.ac.th/km/?p=554 [10 พฤศจิกายน 2555].

10. การประกันคุณภาพการศึกษา (QUALITY ASSURANCE) หมายถึง การทำกิจกรรม หรือการปฏิบัติภารกิจหลักอย่างมีระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยมีการควบคุมคุณภาพการจัดการความรู้ สำนักบรรณสารและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล (2554). นิยามและความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://library.vu.ac.th/km/?p=554 [10 พฤศจิกายน 2555].

May I introduce myself

แนะนำตนเอง



ขอแนะนำตัวนะค่ะ

ชื่อ นางสาวอุษา   นามสกุล  ขนาดผล ค่ะ
ที่อยู่  32/4 หมู่ 4 ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา

ประวัติการศึกษา

      จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านบ่อแสน
      จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนประทีปศาสน์ (ปอเนาะบ้านตาล)
      กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ 
      สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 (เหลืออีกปีกว่าล่ะค่ะ ก็จะจบแล้ว เย้ๆ) ปล. ช่วยเป็นกำลัง
      แรงใจให้ว่าที่คุณครูคนนี้ด้วยนะค่ะ Fighting! สู้ๆ

งานอดิเรก

      อ่านหนังสือเกี่ยวกับโลกเวทมนตร์อ่ะค่ะ พอดีชอบการจินตนาการในสิ่งที่ท้าทายกับโลกใบนี้
      อ่าค่ะ ฟังเพลง เล่นเกม Mystic Emporiam แต่ไม่ถึงกับเป็นเด็กติดเกมงอมแงมนะค่ะ (อ้อ คง
      ไม่แปลกใช่มั้ยค่ะ ถ้าจะบอกว่าเกมที่ฉันชอบเล่นนั้นเกี่ยวกับโลกเวทมนตร์อ่ะค่ะ อิอิ ไม่ได้
      งอมแงม จริงๆค่ะ)

คติประจำใจ

      หนูรู้หน้าที่ "เรียน เป็น เรียน >> เล่น เป็น เล่น" ค่ะ

อุปนิสัย

      จริงจัง และจริงใจต่อคนดีๆที่อยู่รอบข้างค่ะ ร่าเริง ยิ้ม ยิ้ม ง่าย

      ยินดีที่รู้จักคุณ และยินดีที่ได้รู้จักกัน ^_______^
      ไว้เจอกันคราวหน้ามีเรื่องเล่าอีกเพียบค่ะ

よろしくお願いします。YOROSHIKU ONEGAI SHIMASU.